ข่าวทั่วไปข่าวบันเทิงข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ความรู้ทั่วไป

หลายคนไม่รู้!! เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถใช้สิทธิ์ “UCEP” ได้แค่ทำตามนี้

เชื่อว่าหลายคนนั้นอาจจะไม่รู้เรื่องนี้ก็เป็นได้ค่ะ เมื่อเวลาที่เราเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือถึงขั้นวิกฤตนั้น เราสามารถใช้สิทธิ์พิเศษนี้ได้ สิทธิ์นี้เป็นโครงการ UCEP หรือชื่อเต็มๆก็เรียกว่า Universal Coverage Emergency Patints

 

โดยได้มีหนุ่มท่านหนึ่งถึงประสบการณ์ครั้งนี้ผ่านโพสต์ของตนเอง เมื่อพ่อของเขานั้นเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน ถ้ามีอาการแน่นอกหายใจไม่ออกเจ็บหัวใจ จนต้องทำให้เรียกรถพยาบาลของเอกชนมารับเพราะเป็นที่ที่อยู่ไกลมากที่สุด และก็แจ้งให้ทราบว่าพ่อของตัวเองนั้นมีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยมีค่าใช้จ่ายนั้นถึง 250000 บาทเลยทีเดียว

แต่เขานั้นก็จำได้ว่ารัฐนั้นมีสิทธิ์ UCEP อยู่และสามารถเบิกค่ารักษา 72 ชั่วโมงแรกได้ หรือจนกว่าที่จะมีอาการพ้นขั้นวิกฤตเลยได้ใช้สิทธิ์นั้น และโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากๆ เลยได้นำมาบอกกันเผื่อวันใดวันนึงใครพบเหตุการณ์แบบนี้จะได้นำไปใช้กันค่ะ มีประโยชน์มากๆ

สิทธิ์นี้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ทุกๆแห่งที่ใกล้ที่สุด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัยภายใน 72 ชั่วโมง

อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินขั้นวิกฤตก็มีดังนี้

1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6.อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

ขั้นตอนการขอใช้สิทธิ์ UCEP

1.ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2.โรงพยาบาลประเมินอาการ และคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3.ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4.กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 72 ชม.
5.กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต ให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ หากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ อ่านไว้เป็นความรู้นะคะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับเราหรือครอบครัวจะได้รู้ถึง 10 นี้ว่ามันมีอยู่และจะได้ใช้มันอย่างมีประโยชน์ เมื่อมีความจำเป็น ไม่สามารถจะช่วยแบ่งเบาเราได้มากเลยทีเดียว

 

ขอบคุณ ข้อมูลดี ๆ จาก maneemana.net

ใส่ความเห็น