ข่าวทั่วไปข่าวบันเทิงข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ความรู้ทั่วไปสุขภาพเคล็ดลับ

อาหาร ที่ไม่ควรรับประทาน หลังผ่าตัด และวิธีทำให้ แผลหายเร็ว

ด้วยความเชื่อของใครหลายคนที่ว่า หลังผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็กหรือใหญ่ มักมีอาหารที่ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด เนื่องจากอาหารบางชนิดเป็นดังของแสลงที่ทำให้แผลหายช้า เกิดรอยแผลเป็น และเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ยังไม่เคยได้ยินคุณหมอคนไหนห้ามรับประทานอาหารเหล่านั้นสักเท่าไร มากสุดคงเป็นการให้ลดปริมาณอาหารบางชนิด รวมทั้งแนะนำวิธีการดูแลแผลผ่าตัดที่ถูกต้อง

อาหารที่คนเชื่อว่าห้ามรับประทานหลังผ่าตัด
ต่างคนต่างเชื่อว่าหลังจากผ่าตัด เจาะอวัยวะ หรือมีแผลจากอุบัติเหตุน้อยใหญ่นั้น มักห้ามรับประทานอาหารประเภท ไข่ เนื่องจากกลัวว่าเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้แผลเน่า แถมยังอาจเกิดเป็นรอยแผลเป็นที่นูนขึ้นมาหรือเรียกว่า แผลคีลอยด์ (Keloid) แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่เกี่ยวข้องกับไข่เลยสักนิด ซึ่งไข่นั้นจัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนที่ช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างคอลลาเจน ที่ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ส่วนการเกิดรอยแผลเป็นนูน หรือ แผลคีลอยด์ ที่คนส่วนใหญ่พบเจอนั้นมักเกิดจากความไม่สมดุลกันของร่างกายที่สร้างคอลลาเจน ปริมาณมากเกินไป หรือบางคนอาจเกิดจากลักษณะกรรมพันธ์ที่ถ่ายทอดมาเป็นต้น

ข้อห้ามเด็ดขาดสำหรับแผลผ่าตัด

– สุรา เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ ที่ถึงแม้คุณหมอไม่บอกก็ควรจะรู้ เพราะเป็นสิ่งที่แสลงตั้งแต่ปากยันรูทวารเลยทีเดียว เนื่องจากของมึนเมาเหล่านี้มีส่วนกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยจากส่วนต่าง ๆ และเข้าไปทำลายตับ

– อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รวมทั้งอาหารหมักดองควรงดไว้ก่อนก็ไม่เสียหายอะไร เพราะในอาหารเหล่านี้อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่ามักมีสารเคมีและสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ ซึ่งคนไข้บางรายเมื่อรับประทานเข้าไป อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระหว่างพักฟื้นบาดแผลได้เช่นกัน

 

 

– หากเป็นคนติดบุหรี่ควรงดหรือเลิกสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนและหลังผ่าตัด เพราะสารที่อยู่ในบุหรี่จะไปทำลายเซลล์ที่จะซ่อมแซมการหายของแผล และมีผลทำให้เลือดที่จะมาหล่อเลี้ยงบริเวณผ่าตัดลดลง มีโอกาสทำให้ผิวหนังที่ผ่าตัดขาดเลือดหายช้า เสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย

– อาหารเสริมที่ไม่รู้ที่มาที่ไป มาแปลกออกใหม่ ไม่ว่าอาหารเสริมที่คุณได้มานั้นจะเต็มเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณ คุณค่าทางอาหารมากมายแค่ไหน แต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่าอาหารเสริมเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อแผลผ่าตัดของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นหากไม่แน่ใจควรเลือกรับประทานอาหารเสริมที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่สุกหรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

– อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดอาหารแพ้ของคนไข้ในบางกลุ่ม เช่น อาหารทะเล บางคนรู้ตัวว่าแพ้อาหารบางชนิด แต่ด้วยความอยากจึงมักลองดี ด้วยการขอรับประทานแต่เพียงเล็กน้อย จนสุดท้ายเกิดผลข้างเคียงตามมา และยิ่งหากคุณรับประทานอาหารที่รู้ตัวว่าแพ้อยู่แล้ว บางทีอาจส่งผลกระทบต่อบาดแผลเป็นสองเท่าได้เช่นกัน

อาหารก่อนผ่าตัดก็จำเป็นไม่ใช่น้อย

– ไม่ว่าจะผ่าตัดบางส่วนหรือทุกส่วนของร่างกาย แพทย์ต้องมีการตรวจเช็คความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยอยู่เสมอ ทั้งโรคประจำตัว การรับประทานยา โดยเฉพาะยากลุ่มแอสไพริน ยาแก้ปวด เช่น Ibuprofen Diclofenac ฮอร์โมน วิตามิน และสมุนไพรต่าง ๆ คุณหมอมักให้หยุดรับประทานประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด แต่หากเป็นยารักษาความดันและเบาหวานรับประทานได้ตามปกติไม่ต้องหยุดยา และหากรับประทานยาที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin ต้องปรึกษาแพทย์ที่ให้ยาก่อนทุกครั้ง

– การรับประทานอาหารก่อนการผ่าตัด หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดโดยใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่ ในบางครั้งไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำ เพียงแต่ให้รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ สำหรับการผ่าตัดที่ต้องดมยาสลบหรือได้รับการฉีดยานำสลบ จำเป็นมากที่จะต้องงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดนั้นคนไข้อาจเกิดอาการสำลักเศษอาหารหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปเข้าปอดได้ ซึ่งในบางกรณีอาจเกิดความรุนแรงที่แตกต่างกันไป บางคนอาจขาดออกซิเจน หรือ ระบบการหายใจของคนไข้มีปัญหาได้ แพทย์จึงให้งดอาหารก่อนการผ่าตัดทุกครั้ง

 

การดูแลรักษาแผลหลังผ่าตัดที่ถูกวิธี แถมยังทำให้แผลหายเร็วขึ้น

– การดูแลรักษาความสะอาดของแผลและส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค และควรเน้นสุขอนามัยที่ดี โดยเลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ทำแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค หากผู้ป่วยไม่สามารถทำแผลได้เอง และไม่มั่นใจในการทำความสะอาดแผล ควรไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่มีเครื่องมือและบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมจะดีที่สุด

– การบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งสารอาหารบางกลุ่มนั้นสามารถช่วยสมานแผล สร้างเซลล์ผิวและเยื่อหุ้มผิวใหม่ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้แผลหายเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ อาหารที่มีไขมันดี รวมทั้งข้าวและแป้ง เช่นไขมันดีในน้ำมันมะกอก งา ข้าวไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท เผือก มัน ผักและผลไม้ต่างๆ นอกจากนี้ควรเสริมด้วยวิตามินที่ประโยชน์ เช่น วิตามิน C วิตามิน A ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก เป็นต้น

ใส่ความเห็น