ข่าวทั่วไปความรู้ความรู้ทั่วไปความเชื่อ

ชาวพุทธควรรู้ สิ่งจำเป็น 4 อย่าง ถวายช่วงเข้าพรรษา ได้บุญมหาศาล รู้แล้วอย่าเก็บไว้คนเดียว

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน

การทำบุญเข้าพรรษา ให้ถูกหลักพระพุทธศาสนานั้นไม่ใช่เรื่องยากและทำแล้วยังได้บุญมหาศาลโดยผู้ที่จะทำบุญควรจะเน้นไปทำบุญตามวัดต่างจังหวัดเพราะพระสงฆ์ตามต่างจังหวัดนั้นจะขาดแคลนของอุปโภค บริโภคมากกว่าพระที่จำวัดในเมือง โดยผู้ที่ต้องการทำบุญควรจะนำของใช้จำเป็น 4 อย่างไปถวายท่าน ประกอบไปด้วย

1.ไฟฉายอย่างดี พร้อมถ่านสำรองเพราะช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงหน้าฝนท่านจะได้ใช้ไฟฉายสำรวจสภาพวัด สัตว์ร้าย เดินทางไกลหรือแม้กระทั่งภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

2.ผ้าอาบน้ำฝน รูปละสองผืน และต้องเป็นผ้าฝ้ายขนาดใหญ่ที่สามารถใช้สงฆ์น้ำได้ และเป็นผ้าเช็ดตัวได้ซึ่งปัจจุบันพระสงฆ์ส่วนใหญ่จะใช้ผ้าขนหนูแทนแต่ตามความจริงแล้วการใช้ผ้าขนหนูนั้นไม่ถุกพระวินัยของสงฆ์

3.เทียนบูชาพระ ขนาด 8 นิ้ว พร้อมไฟแช็คแทนการใช้เทียนพรรษาซึ่งมีขนาดใหญ่ เพื่อท่านจะใช้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์

4.ยาแก้แพ้อากาศอย่างดีพร้อมยาลดไข้ เพราะช่วงนี้พระสงฆ์จะเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายเพราะเป็นช่วงหน้าฝน

“ทำบุญเข้าพรรษาแค่ 4 ข้อเท่านี้ก็ได้บุญมหาศาลแล้วเพราะท่านได้ใช้ของที่เราถวายได้ตลอดพรรษาส่วนปัจจัยนั้นก็อย่าลืมถวายท่านตามกำลังศรัทธาเพื่อใช้จ่ายเป็นสมณะบริโภค แต่ถ้าเป็นพระธรรมยุตก็ถวายเป็นปาวรณาบัตร ส่วนปัจจัยก็มอบให้ลูกศิษย์ท่านไว้ เท่านี้เราก็ได้เชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีแล้ว”

ประวัติวันเข้าพรรษาสมัยพุทธกาล

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัด เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พวกชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาว่า ช่างไม่รู้จักกาลเวลาเสียเลยพากันจาริกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝนบางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครนถ์ นักบวชในศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยงไปในฤดูฝนเช่นนี้ เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันตรัสถามจนได้ความเป็นจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา”

การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย

สมัยก่อนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอ พระสงฆ์เข้าพรรษาก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนอง เต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไปชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น

ดังนั้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้บ้านตน พระภิกษุสงฆ์แนะนำสั่งสอนให้เกิด ศรัทธาในการปฏิบัติ ตามหลักทานศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่น ๆ

ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า

“พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน”

1 แชร์ = 1 ธรรมทาน กดไลท์ กดแชร์เยอะๆ ได้บุญคะ

ใส่ความเห็น