ข่าวทั่วไปข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ความรู้ทั่วไปเคล็ดลับ

เช็ดด่วนอย่าพลาดโอกาส !! “ประกันสังคม” ประกาศข่าวดี ! เผย “คุณสมบัติ” ผู้ที่มีเกณฑ์ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ “มาตรา 40” ภายในปี 60 !

“ประกันสังคม” ประกาศข่าวดี ! เผย “คุณสมบัติ” ผู้ที่มีเกณฑ์ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ “มาตรา 40” ภายในปี 60 ! เช็ดด่วนอย่าพลาดโอกาส!!?

 

 

ข่าวดีระดับประเทศที่ประชาชนทั่วไปจะได้เฮกันไม่น้อย เมื่อทาง “สำนักงานประกันสังคม” ได้เปิดเผยเรื่องราวดีๆ โดยจะมีการ “เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่มาตรา 40” ภายในปี 2560 ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดีของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกรต่างๆ รวมไปถึงพนักงานอิสระที่ไม่มีสิทธิประกันสังคมก่อน ได้มาเริ่มทำประกันสังคมกันได้แล้ว โดยมีการประกาศรายละเอียด การเพิ่มสิทธิประโยชน์ ขั้นตอน เเละคุณสมบัติ ในครั้งนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

โดยจุดมุ่งหมายของประกันสังคมมาตรา 40 คือ “เป็นการขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร รวมไปถึง พนักงานอิสระต่าง ๆ ได้มีหลักประกันในชีวิตนั่นเอง ส่วนค่ารักษาพยาบาลนั้นสามารถใช้บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคได้”

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคม มาตรา 40 ได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ

2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

3. ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคมมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออกแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)

4. ไม่เป็นข้าราชการ หรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

5. บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม

และปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถเลือกรูปแบบจ่ายเงินสมทบได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ จากเดิมที่เลือกได้เพียง 2 แบบ

ทางเลือกที่ 1 :
ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นจ่ายสมทบ 100 บาท ซึ่งรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ และเงินค่าทำศพ

ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้รับในทางเลือกที่ 1

1. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยและนอนโรงพยาบาล เพิ่มให้เป็น 300 บาท/วัน จากเดิม 200 บาท/วัน กำหนดไม่เกิน 30 วันต่อปี รวมถึงได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีถ้าไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยนอก) แต่มีใบรับรองแพทย์สั่งให้หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี และกรณีแพทย์สั่งให้หยุดพักไม่เกิน 3 วัน จะได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

2. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ ยังให้สิทธิตามเดิม คือ ได้รับเงินทดแทน 500-1,000 บาท/เดือน เป็นเวลานาน 15 ปี โดยมีเงื่อนไข คือ

– จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 10 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 500 บาท/เดือน

– จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 20 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 650 บาท/เดือน

– จ่ายเงินสมทบครบ 24 เดือน ภายใน 40 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 800 บาท/เดือน

– จ่ายเงินสมทบครบ 36 เดือน ภายใน 60 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 1,000 บาท/เดือน

3. ได้รับเงินค่าทำศพ จำนวน 20,000 บาท และได้เพิ่มเงินสงเคราะห์ให้อีก 3,000 บาท เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน

ในส่วนทางเลือกที่ 2 :
ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ และเงิน บำเหน็จชราภาพ

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับในทางเลือกที่ 2

1. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพและเงินค่าทำศพจะได้รับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1

2. ส่วนเงินบำเหน็จชราภาพยังคงได้รับเหมือนเดิมซึ่งจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ซึ่งเงินบำเหน็จจะคำนวณจากเงินที่รัฐบาลอุดหนุนเดือนละ 50 บาท นำมาคูณด้วยระยะเวลาที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบและบวกด้วยเงินผลกำไรที่สำนักงานประกันสังคมนำเงินส่วนนี้ไปลงทุน

ทางเลือกที่ 3 :
เป็นตัวเลือกที่เพิ่มเข้ามาใหม่ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แรงงานนอกระบบ ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบมากขึ้น โดยให้ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินสงเคราะห์บุตร

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับในทางเลือกที่ 3

1. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย กรณีหากเจ็บป่วยและนอนโรงพยาบาลให้อยู่ที่ 300 บาท/วัน กำหนดไม่เกิน 90 วันต่อปี ส่วนกรณีถ้าไม่นอนโรงพยาบาลแต่แพทย์สั่งให้หยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อปี และกรณีที่แพทย์สั่งให้หยุดพักไม่เกิน 3 วันจะได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

2. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทน 500-1,000 บาท/เดือน ตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไข คือ

– จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 10 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 500 บาท/เดือน

– จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 20 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 650 บาท/เดือน

– จ่ายเงินสมทบครบ 24 เดือน ภายใน 40 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 800 บาท/เดือน

– จ่ายเงินสมทบครบ 36 เดือน ภายใน 60 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทน 1,000 บาท/เดือน

3. ได้รับเงินค่าทำศพ จำนวน 40,000 บาท โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย

4. ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาท/เดือน ต่อบุตร 1 คน ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุไม่กิน 6 ปีบริบูรณ์ สามารถใช้สิทธิ์ได้คราวละไม่เกิน 2 คน โดยต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

5. ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ซึ่งจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน และได้รับเงินบำเหน็จที่สะสมไว้เดือนละ 150 บาทพร้อมดอกผล โดยสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน อีกทั้ง เมื่อจ่ายครบ 180 เดือน รับเงินก้อนอีก 10,000 บาท

ส่วนขั้นตอนสำหรับใครที่ต้องการที่จะสมัครประกันสังคมมาตรา 40 สามารถดำเนินการสมัครด้วยตนเองโดยสมัครใจ มีรายละเอียดการยื่นใบสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา 40 ดังนี้

1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (แบบ สปส. 1-40)

2. สถานที่ยื่นใบสมัคร

– กรุงเทพฯ : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

– ภูมิภาค : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

– หน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม

3. หลักฐานการสมัคร

– บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

– แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส.1-40)

 

ข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม

และขอบคุณ >> lnwguru.com

ใส่ความเห็น