ข่าวทั่วไปข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ทั่วไปทริปท่องเที่ยว

เปิดตำนาน รอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี เรื่องเล่าความลี้ลับของผู้ที่หลบหลู่…..

เปิดตำนาน รอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฎ จันทบุรี เรื่องเล่าความลี้ลับของผู้ที่หลบหลู่…..

ถ้าพูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ต่างๆ ที่ผู้คนนิยมไปสักการะบูชากราบไหว้ หนึ่งในนั้นต้องมี “เขาคิชฌกูฎ” ที่จังหวัดจันทบุรี

 

 

 

 

ยอด “เขาคิชฌกูฏ” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เขาคิชฌกูฏ ที่จังหวัดจันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ “รอยพระพุทธบาท” มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม.

ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย

โดยสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงและบนยอดเขามีสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ คือ รอยพระพุทธบาท และหินลูกบาตร ที่ตั้งข้างรอยพระพุทธบาท อยู่ในลักษณะคล้ายลอยอยู่ริมลานพระพุทธบาทฝั่งตรงข้ามหินลูกบาตรมีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้ และในหินก้อนนี้ ตรงข้ามกันรอยพระหัตถ์ มีรูปรอยเท้าใหญ่ (รอยเท้าพญามาร) ใต้พระบาทมีถ้ำตาฤาษี

จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า “เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็รสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไป”

แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานให้ดี ปราถนาสิ่งใดที่ดีที่ชอบขอได้ตามความพอใจ กลับไปจะมีแต่ความปลอดภัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและเทพยดาที่รักษารอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จะอำนวยอวยพรให้ท่านได้รับแต่ความสขตามสมบูรณ์พูลผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป

 

 

 

ซึ่งผู้อยากจะขึ้นไปสักการะบูชาสิงศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั้นจะต้องมีจิตศรัทธาที่แรงกล้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม. ท่ามกลางผู้คนที่มีศรัทธาเดียวกันมากมายที่เบียดเสียด เพราะการจะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี หรือช่วงช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม (ในปี 2560 นี้ คือระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 28 มีนาคม 2560) หรือแค่ประมาณ 2 เดือนต่อปีเท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพุทธศาสนิกชนมากมายจากหลายที่ต่างถิ่น จะพร้อมใจกันมาสักการะบูชาแผ่นหินซึ่งเชื่อว่าประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จะได้อานิสงส์แรงกล้า เปรียบได้กับการได้เข้าเฝ้าองค์พระศาสดาถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่

ปัจจุบันได้มีการจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปสักการะบูชารอยพระพุทธบาทจนกลายเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก…ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขา แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชน ได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

เรื่องเล่าความลี้ลับของผู้ที่หลบหลู่ความศักดิ์สิทธิ์ของเขาคิชฌกูฏ ที่จังหวัดจันทบุรี

พระครูธรรมสรคุณ (ท่านพ่อเขียน) เล่าว่า “พวกที่ไปด้วยไม่ศรัทธาจะถูกรุกขเทวดาที่ปกปักรักษารอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏลงโทษบ่อย ๆ ทุกปี” ดังกรณี ปี 2513  มีชนศาสนาอื่นมาจากจังหวัดระยองขึ้นเขาพระบาทเพื่อไปเที่ยวสนุกกับเพื่อน เพื่อนๆพากันนมัสการรอยพระพุทธบาท แต่เขาไม่และหัวเราะเยาะเพื่อนว่า หลงไปกราบหิน กราบรอยอะไรก็ไม่รู้ และไม่ถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปลานพระพุทธบาท เขารู้สึกง่วงไปนอนบนลานหินทางทิศใต้ของรอยพระพุทธบาทและหลับไป และผันว่าวิ่งลงมาจากที่สูงแต่ที่จริงใช้หลังวิ่งกลิ้งลงไป หัวกระแทกหินแตกหลายแผล สลบไปหลายชั่วโมง
อีกรายหญิงสาววัยรุ่นไม่เคารพปูชนียสถานเข้าไปลานพระพุทธบาทโดยไม่ถอดรองเท้า ขณะนั้นเองค์เทวดาที่รักษาองค์พระพุทธบาท บัลดาลให้ลมพัดอย่างแรง พัดพาร่างหญิงสาวปลิว ทรงกายไม่อยู่เสียหลักไปชนหินสลบไป

สองกรณีเป็นเรื่องเกิดขึ้นนานแล้ว แต่ยังมีผู้ไม่รู้และไม่ศรัทธายังลบหลู่ปูชนียสถาน นึกว่าเป็น “ที่ท่องเที่ยว” ขึ้นไปลานพระพุทธบาทเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งทำให้เกิดผลร้ายอยู่เนื่องๆ ขึ้นไปถึงลานพระพุทธบาทจงทำแต่ความดีทั้งกายใจและจิตส่งกระแสไปยังพระพุทธองค์อุปมาเหมือนท่านยังทรงมีชีวิต ประทับอยู่ต่อหน้าผู้ไปนมัสการ

 

 

ข้อปฏิบัติในการเดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ

1. ไหว้พระบาทจำลอง ที่ต้นศรีมหาโพธิ์

2. ขึ้นศาลาไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ ปิดทองรูปใด ขอพรขอบารมีรูปนั้นให้ครบ 9 ครั้ง

3. จุดเทียนธูป หน้าห้องกระจก ตั้งสัจจะขอในสิ่งที่เราต้องการต่อหน้าสังขาร พระครูพุทธบทบริบาร (หลวงพ่อนัง)

4. ประพรมน้ำพุทธมนต์ ให้เป็นสิริมงคลก่อนขึ้นเขา

5. ตั้งสัจจะ ขอที่พระอภิบาลมงคลพุทธไสยาสน์

6. จุดเปลี่ยนรถที่ 1 ไหว้เจดีย์กลางเขา เจ้าแม่กวนอิม, พระพรหม, พระพิฆเนศวร, แม่โพสพ, บาตรแห่งมหาโชคลาภ

7. เปลี่ยนรถที่ 2 ไหว้พระสิวลี พระแม่ธรณีบีบมวยผมพระนอน, พระมาลัย

8. ท้าวเวสสุวรรณ, ท้าวพิเภก, พระพิฆเนศวร, แม่ธรณีบีบมวยผม แล้วเคาะระฆัง 2 ข้างทาง

9. สิ่งมหัศจรรย์ รอยเสือใหญ่, รอยกวางทอง, พระศิวะ, พระนาคปรก

10. จุดพักขึ้นประตูสวรรค์ ไหว้พระป่าเรไร, ถวายสังฆทาน, ไหว้พระพรหม แล้วเคาะระฆังขึ้นสวรรค์

11. ไหว้หมอชีวกโกมารภัทร, ฆ้อง, ธรรมจักร, นมัสการรอยพระบาท, เจ้าแม่กวนอิม, ท้าวมหาพรหมวิหาร(กองอำนวยการ)

12. ลานอินทร์ เป็นลานที่พระอินทร์ลงมาประทับที่สถานที่แห่งนี้ เลยนำรูปท่านมาประดิษฐานไว้ที่นี่ และมีผู้อธิษฐานขอแล้วประสบความสำเร็จในเรื่องเนื้อคู่, ที่อยู่อาศัย, ไหว้เทพเทวดา, สักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ, พระปิยมหาราช, สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (พรหมรังษี) ด้านข้างเป็นจุดชมวิวสวยงามมากเป็นหุบเขาที่เขียวชอุ่ม มีเขื่อนเก็บน้ำ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์

13. นมัสการพระสิวลี, พระพิฆเนศวร

14. ปิดทอง ขอพรจากลูกแก้วสารพัดนึก

15. สักการะบาตรพระอานนท์ (บาตรใหญ่) ลานบายศรี เป็นที่บูชาเทพ

16. สักการะบาตรพระสิวลี บาตรแห่งความร่ำรวย

17. ไหว้แม่นางตะเคียน ให้โชคให้ลาภ

19. ลานพรหมบรรทม เป็นสถานที่พระพรหมบรรทม ควรไหว้พระและสวดมนต์บูชาพระพรหมบาตรพระโมคคัลลานะ อยู่ใกล้กับลานพรหมบรรทม

20. บาตรพระสารีบุตร และผ้าแดง เป็นสถานที่เดียวกับผ้าแดง ให้เขียนชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่บนผ้าแดงแล้วอธิษฐานจิตตามปรารถนาค่ะ

 

ใส่ความเห็น